วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556


ดอกลีลาวดี






ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria spp.

ตระกูล  Apocynaceae

ชื่อสามัญ Frangipani,Pagoda,Temple 

ถิ่นกำเนิด เม็กซิโกใต้ถึงตอนเหนือทวีปอเมริกาใต้

 ลักษณะทั่วไป

ลีลาวดีมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา พบในบริเวณพื้นที่ตั้งแต่ประเทศเม็กซิโกตอนใต้ถึงตอนเหนือของทวีปอเมริกาโดยเฉพาะหมู่เกาะทะเลแคริบเบียนลีลาวดีเป็นไม้ยืนต้น มีขนาดตั้งแต่พุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ 0.9-1.2 เมตร จนถึงต้นที่สูงมาก อาจสูงถึง 12 เมตรลำต้นแตกกิ่งก้านสขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น เป็นไม้ผลัดที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกและผลิใบรุ่นใหม่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียวอ่อนนุ่ม ดูเกือบจะอวบน้ำ กิ่งแก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ กิ่งไม่สามารถทานน้ำหนักได้ กิ่งเปราะ เปลือกลำต้นหนาต้นที่โตเต็มที่แล้วจะพัฒนาจนกระทั่งมีความแข็งแรงมากขึ้นใบ เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับและหนาแน่นใกล้ปลายกิ่ง มีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งรูปร่าง ขนาด สี และความหนาแน่น โดยทั่วไปใบจะหนา เหนียวแข็ง และมีสีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันช่อดอก ดอกจะผลิออกมาจากปลายยอดเหนือใบ เห็นเป็นช่อดอกใหญ่สวยงาม แต่ก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบ หรือใต้ใบบางชนิดห้อยลงบางชนิดตั้งขึ้น ในหนึ่งช่อจะมีดอกบานพร้อมกัน 10 – 30 ดอก บางต้นที่มีความสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน บางพันธุ์สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปีลักษณะของ ดอก โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่ถึงกลาง ยกเว้นบางพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างในดอกมีลักษณะคล้ายท่อ ทำให้มองไม่เห็นเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย โดยจะมีเกสรตัวผู้ 5 อัน อยู่ที่โคนก้านดอกส่วนเกสรตัวเมียอยู่ลึกลงไปในก้านดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียบานไม่พร้อมกัน ยากต่อการผสมตัวเองฝัก มีลักษณะคล้ายกับฝักต้นชวนชม ฝักอ่อนสีจะมีสีเขียวเมื่อแก่ฝักจะมีสีแดงถึงดำ

การขยายพันธุ์ลีลาวดี
1. การเพาะเมล็ด  จะใช้ฝักที่แก่จัด  ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย แต่ละฝักของลีลาวดีจะได้ต้นกล้าประมาณ  50 -100  ต้น สามารถเพาะในกระถางเพาะได้เลย ข้อดี   ของการเพาะเมล็ดลีลาวดี คือ จะได้ต้นที่กลายพันธุ์  หรือ ต้นลีลาวดีแคระ ด่าง 
2. การปักชำ  เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วในการขยายพันธุ์ต้นลีลาวดีและยังเป็นวิธีรักษาพันธุ์เดิมเอาไว้
3. การเปลี่ยนยอด จะใช้ในกรณีที่ได้พันธุ์ดีแล้วนำมาเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่เพาะกล้าไว้แล้วอาจจะเสียบข้างหรือผ่าเป็นลิ่ม วิธีนี้ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ไม่เช่นนั้นแผลจะเน่า
4. การติดตา ใช้ในกรณีที่ได้ตามีไม่มากนัก เป็นการขยายพันธุ์แบบประหยัด กิ่งหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก

ประโยชน์จากลีลาวดี
1.ใช้ในการจัดสวน ตกแต่งภูมิทัศน์ พันธุ์ที่ครองความนิยมอยู่คือ “พันธุ์ขาวพวง” ที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่ส่งกลิ่นหอมเฉพาะตัวทั้งยังสามารถออกดอกตลอดปี  
2.ลีลาวดียังมีสรรพคุณเป็น “ยาสมุนไพร” ด้วย
ต้น             =   ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า
ใบ             =  ใบแห้งชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคหอบหืด ใบสดลนไฟประคบร้อนแก้ปวด บวม
เปลือกราก    =  เป็นยารักษาโรคหนองใน ยาถ่าย แก้โรคไขข้ออักเสบ ขับลม
เปลือกต้น     =  ต้มเป็นยาถ่าย ขับระดู แก้ไข้ แก้โรคโกโนเรีย หรือผสมกับน้ำมันมะพร้าว-ข้าว-มันเนยเป็นยาแก้ท้องเดิน ยาถ่าย ขับปัสสาวะ
ดอก           = ใช้ทำธูป ใช้ผสมกับพลูเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย
เนื้อไม้        = เป็นยาแก้ไอ ยาถ่าย ขับพยาธิ 
ยางจากต้น   = เป็นยาถ่าย รักษาโรคไขข้ออักเสบ ใช้ผสมกับไม้จันทน์และการบูรเป็นยาแก้คัน แก้ปวดฟัน
ดอกพุทธรักษา




ดอก พุทธรักษา ฤดูร้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์:  Canna spp. and hybrid
ชื่อวงศ์:  Cannaceae
ชื่อสามัญ:  Indian shot, Canna
ชื่อพื้นเมือง:  พุทธศร  ดอกบัวละวง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน อวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้นโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร
    ใบ  ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมีก้านใบซึ่งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตรยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร
    ดอก  สีแดง แสด เหลือง ชมพู ขาว ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ทยอยบานทีละ 1-3 ดอก ช่อดอกยาว 15- 20 เซนติเมตร  ช่อละ 8-10 ดอก กลีบเลี้ยง 3 กลีบ ขนาดเล็กสีเขียวอ่อน กลีบดอก 3 กลีบ   ดอกบานเต็มที่กว้าง 8-9  เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้ซึ่งเปลี่ยนรูปร่างไปเหมือนกลีบดอกมีขนาดใหญ่
    ฝัก/ผล  ผลแห้งแตก ทรงกลม
    เมล็ด  เมล็ดทรงกลม ขนาด 2-6 เซนติเมตร ผิวขรุขระ จำนวนหลายเมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก ปลูกในแปลงปลูก และปลูกในกระถาง
การดูแลรักษา ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง ชอบดินเหนียวชุ่มชื้นและมีอินทรียวัตถุสูง หรือที่ระดับน้ำ 10-20 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด แยกหน่อ แยกเหง้า
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
สรรพคุณทางยา:
    -    ดอก ตำพอกห้ามเลือด รักษาแผลหนอง
    -    ใบ แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย แก้อาเจียน




ดอกดาวเรือง




ดาวเรือง (ชื่อวิทยาศาสตร์Tagetes erecta L.; ชื่อสามัญ: Marigold) มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า คำปู้จู้ (ภาคเหนือ) นิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ซอเวอร์เรน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ๆที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาไมก้า (jamaica) และอื่นๆอีกหลายพันธุ์
ดาวเรืองขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดเป็นหลัก อาจใช้การปักชำได้ แต่ต้นที่ได้จะให้ดอกที่มีขนาดเล็กกว่า

ดอกไม้สัญลักษณ์

ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ

การใช้ประโยชน์

ดอกดาวเรืองใช้ร้อยพวงมาลัยชนิดต่างๆเพื่อการบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ กลีบดอกดาวเรืองมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า xanthophyll สูง จึงมีการปลูกเพื่อเก็บดอกเพื่อเอาไปเป็นส่วนผสมของอาหารไก่ไข่เพื่อให้ไข่แดงมีสีแดงสวยทดแทนสารสังเคราะห์
ดาวเรืองสะสมสารหนูได้ 42% ในใบ[1] จึงมีประโยชน์ในการฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนสารหนู




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cosmos sulphureus Cav.
ชื่อวงศ์ : Compositae
ชื่อสามัญ : Cosmos, Mexican aster
ชื่อพื้นเมือง : คำแพ คำเมืองไหล คำอังวะ


ลักษณะทั่วไปดาวกระจาย

ดาวกระจาย เป็นพืช ชนิด ไม้ดอกล้มลุก มีขนาดความสูงประมาณ 0.30-1.50 เมตร เรียกว่าพันธุ์เตี้ยและพันธุ์สูง ลำต้นเป็นเหลี่ยม ตั้งตรง มีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามรูปหอก กว้าง 3-6 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักเว้าลึกแบบขนนัก 5-7 แฉก ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ดอกดาวกระจายนั้นมีหลายสี สีดอกมีทั้ง สีเหลือง ส้ม หรือส้มอมแดง ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบปลายกิ่ง มีทั้งดอกซ้อน รูปขอบขนาด ปลายหยัก 2-3 หยัก กลีบดอกชั้นในสีเหลืองเป็นหลอดกระจุกกลางดอก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 4-6 ซม. ออกดอกตลอดทั้งปี ผลของ ดาวกระจาย เป็นผลแห้งรูปกระสวยแคบ ที่ปลายมีขนแข็ง

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used)

ดอกสวย ปลูกประดับสวน ปลูกลงแปลงเป็นกลุ่ม ริมถนน ทางเดิน เป็นจุดเด่นสวนหย่อม

การปลูกและดูแลรักษา

ดาวกระจายนั้นเป็นพืชที่มีอัตราเจริญเติบโตค่อนข้างเร็ว ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี ความชื้นปานกลาง และมีแสงแดดเต็มวัน

ดอกดาวดึงส์
 


 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gloriosa superba

ตระกูล LILIACEAE

ชื่อสามัญ Gloriosa, Glory, Climbing lily.



ลักษณะทั่วไป
    ต้น ดองดึงเป็นพรรณไม้ที่มีหัวอยู่ใต้ดิน และมีลำต้นหรือเถาเลื้อยเกาะต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้ ๆ
และสามารถเลื้อยเกาะต้นไม้อื่นได้สูงประมาณ 3 เมตร ส่วนหัวที่อยู่ใต้ดินมีลักษณะเด่น
อย่างหนึ่งคือ บริเวณส่วนปลายของหัวจะมีจุดเจรญสำหรับต้นใหม่ ฉะนั้นจึงต้องระมัดระวัง
อย่าให้ปลายของหัวหรือเหง้าหัก เพราะจะทำให้ต้นเสียหายและจะไม่งอกต่อไปได้

    ใบ ลักษณะของใบคล้ายรูปหสก ตรงปลายใบจะมีขอเกาะหรือหนวดสำหรับเกี่ยวพันกับต้นไม้
อื่น ตัวใบมีสีเขียวเข้ม เป็นมัน ขอบใบไม่มีจัก ใบเรียบ

    ดอก ลักษณะของดอกจะเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกจะแยกออกจากกันขอบของกลีบดอกบิดเป็น
เกลียว มีเกสรแยกออกจากโคนกลีบดอกด้านนอกดอกหนึ่งจะมีเกสรประมาณ 6-7 อัน สี
ของดอกจะมี 2 สี คือสีเหลืองและสีแดงสดปริมาณสีทั้งสองของดอกจะเปลี่ยนแปลงไปตาม
อายุของการบานของแต่ละดอก ยิ่งดอกบานนานก็ยิ่งมีสีแดงมากขึ้นกว่าดอกตูมหรือดอกที่
เพิ่งบาน

    ฤดูออกดอก

จะออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดฝนจะให้ดอกดกมาก

    การปลูก

ดองดึงมีวิธีการปลูกโดยการนำเอาเหง้าหรือหัว มาปลูกลงดิน โดยขุดหลุมปลูกกว้างลึกประมาณ
6 x 6 นิ้ว แล้วผสมดินปลูกกับปุ๋ยหมักใส่ก้นหลุม จึงนำหัวหรือเหง้าดองดึงลงวาง แล้วกลบดินพอ
มิด รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 1 สัปดาห์ หัวหรือเหง้าดอกดึงก็จะแตกยอดอ่อน

    การดูแลรักษา

แสง ดอกดึงเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดี ทั้งในที่ที่มีแสงแดดจัด และแสงแดดร่มรำไรใต้ร่มเงา

น้ำ ชอบน้ำปานกลาง แต่การระบายน้ำจะต้องดี น้ำไม่ขังเพราะหากน้ำขังจะทำให้รากเน่า และ
ทำให้เกิดความเสียหายแก่เถาดองดึงได้

ดิน ดองดึงชอบขึ้นในดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี

    การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกเหง้า หรือโดยการแยกหัว

บานเย็น



บานเย็น (อังกฤษ: Four-o’clocks; Marvel of Peru; ชื่อวิทยาศาสตร์: Mirabilis jalapa L.) เป็นไม้ดอกในสกุล Mirabilis ที่นิยมปลูกมากที่สุด มีสีดอกที่หลากหลาย กล่าวกันว่าบานเย็นถูกนำออกมาจากถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาแอนดิส ในเปรู ช่วงปี ค.ศ. 1540 คำว่า Mirabilis ในภาษาละตินหมายถึง ยอดเยี่ยม, สวยงาม, มหัศจรรย์ ส่วนคำว่า Jalapa เป็นชื่อเมืองแห่งหนึ่งในประเทศเม็กซิโก


 


  1. ดอกบานไม่รู้โรย


บานไม่รู้โรย (Globe Amaranth หรือ Bachelor Button) เป็นพืชล้มลุกในสกุลบานไม่รู้โรย ดอกมีสีม่วง แดง ขาว ชมพู และม่วงอ่อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล, ปานามา และ กัวเตมาลา ในประเทศไทยมีชื่อพื้นเมืองอื่นคือ กะล่อม (เหนือ) ดอกสามเดือน (เชียงใหม่,ใต้) และตะล่อม (เหนือ)